Urban Template

29 ต.ค. 2015

Urban Template

อีกครั้งของศิลปินออสเตรเลีย-ไทย

“Urban Template” การแสดงแนว Contemporary ครั้งที่ 2 ที่เกิดจากแนวคิดอิสระและการออกแบบการแสดงแบบไม่จำกัดตัวเองของศิลปิน 2 ท่าน ครูหลอดไฟ-นวินดา วรรธนะโกวินท์ ศิลปินไทยและ Mr. James Batchelor ศิลปินออสเตรเลีย ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ณ M Theatre

การแสดงครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน ในส่วนแรก Fractals ออกแบบการแสดงโดยครูหลอดไฟ เป็นการผสมผสานการเต้นร่วมสมัยกับการจัดวางทางสถาปัตยกรรม ที่สะท้อนวิถีชีวิตคนเมืองที่มีรูปแบบพฤติกรรม “ทำซ้ำ” ที่เข้าใกล้ความเป็นเครื่องจักรกล และความพยายามอย่างไม่หยุดหย่อนของมนุษย์ที่จะทำตามรูปแบบที่จะนำไปสุ่ความสมบูรณ์ที่จำเจ โดยลืมมองอัตตลักษณ์เฉพาะตน โดยการแสดง FRACTALS นี้ ได้รับการสนับสนุนผ่านรัฐบาลออสเตรเลีย ผ่านสถาบันออสเตรเลีย-ไทย และได้สร้างสรรค์ร่วมกับศิลปินหลากหลายแขนงทั้งนักเน สถาปนิก และ Sound Designer

“METALSYSTEMS” ออกแบบการแสดงโดย Mr. James Batchelor ซึ่งการแสดงนี้สะท้อนนัยยะของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในกรุงเทพฯ จากการเฝ้าสังเกตของเค้า ตลอด 5 สัปดาห์ที่อยู่ในประเทศไทย ถ่ายทอดผ่านการแสดงของนักเต้นชาวไทยและออสเตรเลีย รวม 8 คน ที่มาพร้อมก้อนอิฐ 512 ก้อน ที่สร้างสรรค์มุมมองที่น่าค้นหาและผลลัพธ์การแสดงที่เต็มไปด้วยรูปร่างและจังหวะต่างๆ

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนทุนการแสดง สถานทูตออสเตรเลียและสถาบันออสเตรเลีย-ไทย และผู้ร่วมสนับสนุนการแสดงครั้งนี้ Creative Industries สถาบันบางกอกแดนซ์ และ Live 4 Viva

ภาพ 1 คุณหลอดไฟ_resize

ครูหลอดไฟ-นวินดา วรรธนะโกวินท์ “หลอดไฟรู้สึกดีใจมากๆ ค่ะ ที่สถาบันออสเตรเลีย-ไทย ให้ความสำคัญกับศิลปะ โดยให้ทุนสำหรับการแสดง Contemporary Dance ครั้งนี้ ทำให้หลอดไฟได้สานต่อการทำงานร่วมกับศิลปินชาวออสเตรเลียอีกครั้ง ศิลปินแขนงอื่นๆ รุ่นพี่ที่เป็นสถาปนิก 4 คน และ Sound Designer การแสดงผลงานทุกครั้งก็ยังมีจุดมุ่งหมายให้คนที่มาชมได้อะไรกลับไป และได้เข้าใกล้ศิลปะมากขึ้น โดยที่เราไม่ได้เน้นปริมาณคนชมเพื่อรายได้ เบื้องหลังการเตรียมงานครั้งนี้ หลอดไฟต้องเข้าไปศึกษาการทำงานและพูดคุยกับพนักงานในโรงงาน ในโกดัง การทำงานของเครื่องจักร อยู่หลายวัน เพื่อให้เราได้ซึมซับการทำงานของเครื่องจักรและพฤติกรรมการทำงานซ้ำๆ ในโรงงานเป็นแนวคิดหลักในการ develop เป็นการแสดงนี้ขึ้นมา การแสดงในส่วนของหลอดไฟเน้นเรื่องความรู้สึก การแสดงสองส่วนนี้ ถึงแม้จะมีแนวคิดเกี่ยวเนื่องกับ Construction เหมือนกัน แต่มีความเป็น Abstract ต่างกัน”

 

ภาพ 2 Mr.James

Mr. James Batchelor  “การแสดงในส่วนของผม มีแนวคิดต่อเนื่องมาจากปีที่แล้วเกี่ยวกับ Construction ที่ผมเฝ้าสังเกตจากไซท์งานใกล้ตัวในกรุงเทพและที่ออสเตรเลียที่อยู่รอบๆ ตัวผม แต่ครั้งนี้รูปแบบการแสดงแตกต่างกับผลงานครั้งก่อน คราวนี้ผมออกแบบให้มีความเป็น Minimalist มากขึ้น คิด วางแผนการแสดง ที่ต้องมีการบวกลบคูณหารออกมาเป็นการแสดง มีอิฐ 512 ก้อนเป็นอุปกรณ์การแสดงหลัก ไม่มีดนตรีประกอบ สะท้อนการทำงาน Construction ในงานของผมอย่างต่อเนื่องแต่ในมุมมองที่ต่างกันออกไป”

บรรยาย 1

คณะครู-นักเรียนบางกอกแดนซ์และผู้ปกครองร่วมชมการแสดงในบรรยากาศอบอุ่นเป็นกันเอง

บรรยาย 2

ท่านเอกอัครราชทูตออสเตรเลียฯ ให้ความสนใจ พร้อมทั้งให้ข้อคิดและคำแนะนำแก่ Producer และทีมงาน

บรรยาย 3

ฯพณฯ พอล โรบิลลิอาร์ด เอกอัครราชทูตออสเตรเลีย ประจำประเทศไทย (ที่ 3 จากซ้าย) ให้เกียรติชมการแสดงพร้อมด้วย Ms.Kathryn Stacey, Australia-Thailand Institute Officer สถาบันออสเตรเลีย-ไทย (ที่ 4 จากซ้าย) คุณมาซาโกะ ฮิราตะ ผู้อำนวยการสถาบัน Bangkok City  Ballet (ที่ 2 จากขวา) และอาจารย์เต็มเดือน เกษะโกมล (ขวาสุด) ร่วมถ่ายภาพกับทีมนักแสดง และ Choreographer ทั้ง 2 Mr.James Batchelor (ที่ 2 จากซ้าย) และคุณนวินดา ปัจฉิมสวัสดิ์ วรรธนะโกวินท์ (ที่ 4 จากขวา)

urbantemplates_dance_1 (2)

UT-11411_resize

UT-10502_resize

KAIS3435_resize

KAI_3191_resize

Related Post

ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ